ประวัติความเป็นมาของเทศบาล
ข้อมูลทั่วไป
อำนาจหน้าที่ของเทศบาล
นโยบายการบริหารงาน
โครงสร้างการบริหารงาน
โครงสร้างองค์กร
ข้อมูลผู้บริหาร
พนักงานเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด
กิจการสภาเทศบาล
สมาชิกสภาเทศบาล
รายงานประชุมสภาเทศบาล
โครงสร้างส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
ข้อมูล/สาระความรู้การทำงานด้านต่างๆของเทศบาลฯ
งานพัฒนาชุมชน
มาตรฐานการให้บริการ
งบประมาณ
งานส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรม
งานวิเคราะห์นโยบายและแผน
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
งานส่งเสริมการเกษตร
งานสภาเทศบาล
คณะกรรมการชุมชนเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด
แผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ.2561-2564)
แผนพัฒนาท้องถิ่น 2561-2565
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจร
กฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สรุปผลงานที่ผ่านมา
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด
กิจกรรมเพื่อประชาชนในชุมชนประจำสัปดาห์
ข้อมูลศาสนสถานในเขตเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด
ปฏิทินการท่องเที่ยว
ประชาคมอาเซียน (Asean)
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
สาระน่ารู้
เอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ
พระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาต 58
ข้อมูลรายรับ - รายจ่าย
งบแสดงฐานะทางการเงิน
รายงานประจำปี เทศบาลตำบลดอยสะเก็ด
รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท.(LPA)
การกำกับติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 1
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตขอ
ข้อมูลสถิติการให้บริการ
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสุประจำปี
คู่มือการดำเนินงานของ อปท.
สรุปผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสี่ปี (2561-64)
การวัดความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)
รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2561
นโยบายคุณธรรมและความโปร่งใส
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
การส่งเสริมความโปร่งใส
การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานผลติดตามและประเมินผลในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.2562
งบการเงิน ประจำปี
เทศบัญญัติ
แผนดำเนินงานประจำปี
การกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี
แบบสำรวจความพึงพอใจ
ผลการสำรวจความพึงพอใจ
มุมกฎหมาย
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
สถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ข้อมูลสถิติการจัดเก็บขยะมูลฝอย
การประเมินความเสี่ยงการทุจริต ประจำปี
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
คู่มือการปฏิบัติงาน
งานบุคลากร
การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
แผนอัตรากำลัง 3 ปี
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
แผนพัฒนาบุคคลากร
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยกรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
คำสั่งด้านการบริหารงานบุคคล
สิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการ
รายงานและการประเมินผล
คู่มือคนพิการ
ทต.ดอยสะเก็ดขอสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างงบประมาณ 2563
ประชาสัมพันธ์การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติฯ
 
     
 
นายสุรศักดิ์ โอสถิตย์พร
นายกเทศมนตรีตำบลดอยสะเก็ด
 
 
คุยกับนายกเทศมนตรีตำบลดอยสะเก็ด
   
 
   
 
     
  นายธนายุทธ ทิพย์บุตร
รองปลัดเทศบาล รักษาราชการแทนปลัดเทศบาล
 
 
คุยกับปลัดเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด
   
 
 
ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
แผนที่เทศบาลตำบลดอยสะเก็ด
แบบฟอร์มติดต่อผ่านเว็บ
 
   
 
ขณะนี้ 2 คน
สถิติวันนี้ 148 คน
สถิติเดือนนี้ 14708 คน
สถิติปีนี้ 144030 คน
สถิติทั้งหมด 2940175 คน
 
  ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2552  

        

        

        

        

        

        เพลงดอยสะเก็ดเพชรล้านนา
        

 
  สามารถติดตามข่าวสาร COVID 19 จังหวัดเชียงใหม่ ได้ที่ เฟสบุ๊ค "ข้อมูลข่าวสารเฉพาะกิจของจังหวัดเชียงใหม่" LineID @cmupdate  
 
ประวัติความเป็นมาของเทศบาล
   
     อำเภอดอยสะเก็ด เดิมทีตั้งอยู่ที่บ้านน้ำแพร่ได้ประมาณ 2 ปี 7 เดือน ต่อมาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้มองเห็นว่าเป็นที่ตั้งที่หมู่บ้านที่มีราษฎรอยู่น้อย มีแต่ท้องทุ่งนาเวิ้งว้าง ซึ่งไม่เหมาะแก่การที่จะเก็บภาษีสี่บาท (ภาษีซึ่งเรียกเก็บจากตัวบุคคลทุกคน) จึงได้เรียกผู้ปกครองมณฑลตะวันออกมาหารือ จึงได้ความว่า ควรจะมาตั้งที่เชิงเขาชิดด้านตะวันออกสุด ดังนั้น ขุนผดุงดอยแดนจึงเสนอให้ย้ายมาอยู่ที่เชิงดอยซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันนี้ พร้อมทั้งมอบที่ดินให้เป็นที่ทำการของทางราชการ เช่น สาธารณสุข สถานีตำรวจ และที่ว่าการอำเภอ เพราะมีบริเวณที่เหมาะสมซึ่งเป็นที่สูงอยู่บริเวณน้ำไม่ท่วมถึง จึงได้รื้อถอนตัวอาคาร ชั่วคราวและได้นำไม้บางส่วนมาสร้างที่ว่าการอำเภอ พ่อขุนผดุงดอยแดนจึงมอบไม้ในส่วนเพิ่มให้อีก หลายสิบท่อน เพื่อสร้างอาคารแบบชั้นเดียวใต้ถุนสูง ตัวเสาหล่อด้วยปูนซีเมนต์เสริมเหล็ก หลังคาทรงปั้นหยา หน้าจั่ว บนหลังคามีเสาธงอยู่ด้วย 2 – 3 ปีต่อมา พ่อขุนผดุงดอยแดนจึงได้มอบที่ดินที่หน้าอำเภอให้อีกเพื่อตั้งเป็นโรงเรียนประชาบาล และได้สร้างอาคารเรียนหลังใหญ่ 2 ชั้น ขึ้นหลังหนึ่งซึ่งได้งบช่วยเหลือทางการศึกษา เรียกว่า “อาคารศึกษาพลี” จึงเป็นที่ตั้งรวมของกลุ่มส่วนราชการถึงวันนี้

     ดอยสะเก็ด ตั้งอยู่ในส่วนที่เป็นเทือกเขายาวกั้นระหว่างแอ่งอารยธรรม 2 แอ่ง คือ แอ่งอารยธรรม ลุ่มแม่น้ำและแอ่งอารยธรรมลุ่มน้ำกวง – ปิง เมื่อพญาเม็งรายรวมแอ่งอารยธรรมทั้ง 2 เข้าเป็นอาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. 1839 ดอยสะเก็ดจึงอยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 แอ่งอารยธรรม และมีพัฒนาการร่วมกับอาณาจักรล้านนามาตั้งแต่เริ่มต้นจากการศึกษาตำนาน ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นจารีตในการบันทึกประวัติศาสตร์ พบว่า ทุกเรื่องที่กล่าวถึงจะโยงถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งความเป็นมาของคำว่า“ดอยสะเก็ด” มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาดังนี้

     ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยเกิ้ง ซึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน แล้วได้เสด็จผ่านมาที่พระพุทธบาททุ่งตุ้มยางวิด พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับที่ดอยพระบาทตีนนกในเขตอำเภอสันทราย ขณะนั้นได้ทรงทอดพระเนตรไปทางทิศใต้ได้พบหนองบัวอันกว้างใหญ่ในบริเวณหนองบัวมีดอกบัวมากมายอยู่ใกล้เชิงเขาลูกเดียว ซึ่งในหนองน้ำแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของพญานาคสองสามีภรรยา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับอยู่บน ภูเขาลูกนั้น และทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีให้พญานาคสองสามีภรรยา ซึ่งกำลังหากินอยู่ในบริเวณหนองน้ำแห่งนั้นได้เห็นพญานาคทั้งสองได้เห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งนักก็เกิดความเลื่อมใส จึงจำแลงกายเป็นมนุษย์เก็บดอกบัวไปถวาย พระพุทธเจ้า พร้อมทูลขอเส้นพระเกศาเพื่อเก็บไว้บูชา โดยได้สร้างเจดีย์สวมทับเส้นพระเกศาไว้บนเขาลูกนี้และได้เรียกเขาลูกนี้ว่า“ดอยเส้นเกศ” ทั้งนี้ เพราะภูเขาตามภาษาพื้นเมืองเรียกว่าดอย ต่อมามีผู้สันนิษฐานคำว่าดอยเส้นเกศ ได้เพี้ยนมาเป็นคำว่า “ดอยสะเก็ด” โดยเหตุที่อำเภอดอยสะเก็ดมีภูเขาลูกนี้เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญจึงได้ใช้คำว่า “ดอยสะเก็ด” เป็นชื่อของอำเภอ ตลอดมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า คำว่า “ดอยสะเก็ด” มาจากคำว่า “ดอยสระเก็ด” โดยได้ให้ ความหมายไว้ว่า “สระ” คือไซ้หรือการทำความสะอาด ส่วนคำว่า “เก็ด” ก็คือ เกล็ด ซึ่งหมายถึง เกล็ดของพญานาค โดยมีตำนานเล่าประกอบคำอธิบายว่าในสมัยโบราณมีพญานาคสองตัวอาศัยอยู่ในหนองบัวใกล้กับเขาลูกหนึ่งนาน ๆ ทีก็จะออกมาชำระร่างกายพอเสร็จแล้วก็จะพากันขึ้นไปตากเกล็ดบนภูเขาที่อยู่ใกล้กับหนองบัวภูเขาลูกนี้จึงได้ชื่อว่า “ดอยสะเก็ด” และใช้เป็นชื่อของอำเภอจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

     “ดอยสะเก็ด” เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา นับตั้งแต่พญาเม็งรายสถาปนาเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางอาณาจักร ดอยสะเก็ดจึงตกอยู่ในกระแสการเมืองการปกครอง กระแสเดียวกับเชียงใหม่และชุมชน ข้างเคียง คือ เริ่มต้นด้วยอยู่ในการปกครองของราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ.1839 – พ.ศ.2121) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า (พ.ศ. 2121 – พ.ศ. 2317) และตกเป็นประเทศราชของประเทศสยามทั้งในฐานะมณฑลเทศาภิบาลสืบมาตามลำดับ

     การปกครองเมืองเชียงใหม่ ช่วง พ.ศ.2468 – พ.ศ.2476 เป็นการปรับปรุงช่วงสุดท้ายก่อนยกเลิกระบบเทศาภิบาลเมื่อเริ่มรัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์ ทรงยกเลิกระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ทรงยุบเลิกตำแหน่ง หน่วยงานที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และทรงยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองโดยเด็ดขาด ตั้งแต่ปีพ.ศ.2469 เป็นต้นไป หากตำแหน่งเจ้าเมืองใดว่างลงจะไม่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นใหม่อีก ส่วน เจ้าเมืองที่มีชีวิตอยู่ก็ได้เงินเดือนจนถึงแก่พิราลัย ซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐผู้ครองนครเชียงใหม่เป็นผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2482 จึงเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลลงเมืองเชียงใหม่ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทยในอดีตก็มีฐานะเป็นเพียงจังหวัดเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ในส่วนระดับแขวงก็ถูกจัดตั้งให้เป็นอำเภอ ข้าราชการแต่งตั้งส่วนกลางมาปกครอง เรียกว่า นายอำเภอ มาจนถึงปัจจุบันอำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งครั้งนั้นเรียกว่า แขวงน้ำแพร่ ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำแพร่ก่อนย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบัน มีนายอำเภอคนแรก คือ นายยอด (ไม่ทราบ นามสกุล)

     ปัจจุบัน อำเภอดอยสะเก็ดได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 ตำบล 105 หมู่บ้าน มีองค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง และมีเทศบาลตำบล 7 แห่ง คือ เทศบาลตำบลดอยสะเก็ด เทศบาลตำบลเชิงดอย  เทศบาลตำบลลวงเหนือ  เทศบาลตำบลแม่โป่ง  เทศบาลตำบลสง่าบ้าน  และเทศบาลตำบลสันปูเลย


 
 
 
Copyright © 2009-2024 โดย เทศบาลตำบลดอยสะเก็ด - http://www.tambondoisaket.org
ที่ทำการเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด 222 หมู่ที่ 4 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220
เว็บไซต์ออกแบบและพัฒนาโดย www.click2solutions.com